บ่อน้ำแร่ วัดวังขนายทายิการาม
ต.วังขนาย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
พูดถึงวังขนาย บางคนคิดไปถึงน้ำตาลทราย แต่วัดวังขนาย ซึ่งมีบ่อน้ำแร่นี้ อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี และบ่อน้ำแร่แห่งนี้ ค้นพบจากนิมิตรฝันของเจ้าอาวาสวัดวังขนายทายิการาม กาญจนบุรี จึงได้เจาะลงไปใต้ดินพบน้ำแร่ ซึ่งมีอุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส เมื่อนำน้ำแร่ไปให้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสนได้วิเคราะห์และพิสูจน์ปรากฏว่าในน้ำมีแร่ธาตุอยู่หลายชนิด เหมาะสำหรับคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เหน็บชา แขนขาไม่มีแรง คนเลือดลมเดินไม่สะดวก คนมีสิว มีฝ้า ปวดตามร่างกาย โรคผิวหนัง โรคปวดกระดูกให้ดีขึ้นได้ จึงได้สร้างบ่อสำหรับให้คนใช้อาบแช่ตัวจำนวน 57 บ่อ เปิด 06.00 – 18.00 น. ของทุกวัน โทร. 034 611022 , 087 9984311 , 081 7361707
วิธีการอาบน้ำ
- ให้ไปขอพรจากหลวงพ่อสรรเพชญและหลวงพ่อเสนาะที่วิหารกาญจนาภิเษก 50 ปี
- ให้ผู้ที่ต้องการแช่น้ำในบ่อ มาลงชื่อที่อยู่พร้อมทั้งขอรับบัตรและน้ำมนต์(สำหรับดื่มชดเชยการเสียน้ำ ระหว่างแช่น้ำแร่)
- เมื่อมาถึงบริเวณบ่อน้ำแร่แล้ว ทางวัดจะมีตู้ ล๊อคเกอร์ไว้ให้ สำหรับเก็บของมีค่าบริการฟรี รับกุญแจได้พร้อมกับตอนยืนบัตรได้เลย
- ควรทำความสะอาดบ่อ แล้วจึงบอกให้เจ้าหน้าที่เปิดน้ำลงในบ่อน้ำ เปิดน้ำประมาณท่วมหลังเท้า เอาเท้าแกว่งน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิในร่ายกายประมาณ 3 นาที แล้วจึงบอกให้เจ้าหน้าที่เปิดน้ำประมาณหัวเข่า จึงปิดน้ำและเอาขันน้ำตักน้ำค่อยๆ รดถึงหัวไหล่เพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม แล้วจึงให้เจ้าหน้าที่เปิดน้ำถึงเอว ปวดเมื่อยตรงส่วนใดของร่างกายผู้อาบน้ำบีบนวดตามใจชอบ
- เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้ว กล้ามเนื้อและหลอดเลือดกำลังขยายตัว ชาวบ้านมักจะนิยมไปใช้บริการนวดตัวเพื่อผ่อนคลายกันต่อ ก็เรียกได้ว่า ครบสูตรการมาเที่ยววัดวังขนาย ได้แช่น้ำแร่ นวดประคบ ในขณะที่ตัวยังอุ่น ๆ เพียงขยับเข้ามาในวัดอีกหน่อย บริเวณศาลาเฉลิมฯ ก็จะพบป้ายเชิญชวนให้เข้ามานวดผ่อนคลาย ที่นี่ ในวันธรรมดา ที่วัดก็มักจะมีพระอคันตุกะ เดินทางมาใช้บริการอยู่เป็นประจำ เนื่องจากทางวัดเราได้จัดพื้นที่ไว้ให้สำหรับ บุคคลทั่วไปแล้วนั้น ยังมี ห้องพิเศษ สำหรับพระแยกออกจากกันอีกด้วย
ข้อควรระวัง
- ห้ามสตรีมีครรภ์ลงอาบน้ำ
- ห้ามอาบน้ำเกินครั้งละ 30 นาที (15 นาที กำลังพอดี)
- ห้ามดำน้ำโดยเด็ดขาด (เพราะอาจทำให้เป็นลมได้)
- ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ และคนสูงอายุอาบน้ำตามลำพัง
- หลังจากอาบน้ำแล้วควรนั่งพักประมาณ 5 นาที เพื่อปรับสภาพร่างกาย
- ห้ามนำสบู่ ยาสระผม ลงในบ่อน้ำโดยเด็ดขาด
- ผู้เป็นโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ไม่ควรแช่น้ำนานเกิน 20 นาที
- ไม่ควรแช่น้ำเกินหน้าอก จะทำให้เสียเหงื่อในร่างกายมาก
- รับน้ำมนต์จากเจ้าหน้าที่ไปดื่ม เพื่อชดเชยเหงื่อที่เสียไป
ข้อมูล
- ชื่อ : บ่อน้ำแร่ วัดวังขนายทายิการาม
- จุดเด่น :
– บ่อน้ำแร่ 57 บ่อ อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส
– เหมาะสำหรับคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เหน็บชา แขนขาไม่มีแรง คนเลือดลมเดินไม่สะดวก คนมีสิว มีฝ้า ปวดตามร่างกาย โรคผิวหนัง โรคปวดกระดูกให้ดีขึ้นได้ - ที่ตั้ง : ต.วังขนาย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
- เปิด : 06.00 – 18.00 น. ของทุกวัน ถ้าเสาร์-อาทิตย์เปิดถึง 18.00 น.
- ค่าใช้จ่าย : ไม่เสียค่าใช้จ่าย
- โทร. 034 611022 , 087 9984311 , 081 7361707
การเดินทาง
(แผนที่อยู่ด้านล่างอัลบั้มภาพ)
1.รถยนต์
-ใช้ ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า แล้ววิ่งขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้าจากนั้นตรงไปเรื่อยๆจนถึงทางแยกไปอ.สามพราน จ.นครปฐม ให้ชิดขวาแล้วไปตาม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน อ.นครชัยศรี อ.เมือง จ. นครปฐม จนถึง กม.69 ให้เตรียมชิดซ้ายเพื่อขึ้นสะพานข้าม แยกไป ทาง อ. บ้านโป่ง จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 323 (ถ.แสงชูโต) ผ่านสามแยกกระจับ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เข้าสู่ จ.กาญจนบุรี ที่อ.มะกา อ.ท่าท่วง ไปจรถึง อ.เมือง รวมระยะทาง 129 กม.
-ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) เริ่มจากบางแค ผ่าน อ้อมน้อย , อ้อมใหญ่ , อ.สามพราน , อ.นครชัยศรี ไปบรรจบกับเส้นทางที่ 1 หลังจาก อ.สามพราน ทั้งสองเส้นทางนี้ระยะทางใกล้เคียงกันแต่เส้นทางที่ 2 จะมีปัญหา
รถติดมากกว่า
2.รถโดยสาร
รถโดยสารจากกรุงเทพฯ จะมีไปภึงเฉพาะที่ตัว อ.เมือง เท่านั้น ไม่มีไปถึงอำเภออื่นๆ รถปรับอากาศชั้น 1 ไปจอด ที่สี่แยกไฟแดงหน้าศาลหลักเมือง รถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดาจอดที่สถานีขนส่งกาญจนบุรี
– รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง ออกทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-
22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192
– รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 434-5557
3.โดยรถไฟ
การเดินทางโดยรถไฟนับเป็นสเน่ห์ของการเดินทางอีกรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ต้องมีเวลามากและไม่รีบร้อนขึ้น รถไฟได้ที่สถานีบางกอกน้อย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย โทร. 0 2411 3102 วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำเที่ยวไปกลับภายในวันเดียว รายละเอียดสอบถามเพิ่ม เติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020 และ 1690 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th นอกจากนี้ยังมีรถไฟนำเที่ยวขบวนพิเศษที่ให้บริการเฉพาะวันหยุดหลาย รายการแต่ต้องติด ต่อ จองล่วงหน้า และต้องไปขึ้นรถที่สถานีรถไฟหัวลำโพง การเดินทางโดยรถไฟไปเที่ยว เมืองกาญจน์มีความ พิเศษต่าง จากที่อื่น คือเป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์หรือเรียกกันว่าทาง รถไฟสายมรณะ หากมีโอกาสจึง ไมควรพลาดจะนั่ง รถไฟเที่ยวออกจาก สถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.40 น. และ 13.50 น. แวะจอดที่สถานกาญจนบุรีีสะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำตก ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง
ภาพถ่าย
แผนที่
ประวัติของบ่อน้ำแร่ วัดวังขนายทายิการาม
เมื่อปี พ.ศ. 2536 พระมหาสมพงษ์ พุทธสโร เจ้าอาวาสวัดวังขนายทายิการาม ได้ฝันว่ามีคนแต่งชุดขาวบอกว่าให้เจาะบ่อน้ำให้ประชาชนใช้บริเวณหน้าวัดแล้ววัดจะเจริญ เจ้าอาวาสจึงให้กรมทรัพยากรธรณีมาเจาะบ่อน้ำ พ.ศ. 2540 กรมทรัพยากรณีได้มาเจาะบ่อน้ำ พบว่ามีความร้อนถึง 42 องศาเซลเซียส จึงแนะนำทางวัดให้นำน้ำขึ้นมาชำระร่างกาย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 วัดจึงได้จัดให้มีเวทีชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นเพื่อวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน คุณสุรพันธ์ เชาว์กุลจรัสศิริ (ผู้จัดการบริษัท แสงโสม จำกัด) ได้เสนอแนะว่าให้นำน้ำร้อนในบ่อนี้ไปให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสนไปวิเคราะห์และพิสูจน์ปรากฏว่าในน้ำมีแร่ธาตุอยู่หลายชนิด เหมาะสำหรับคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เหน็บชา แขนขาไม่มีแรง คนเลือดลมเดินไม่สะดวก คนมีสิว มีฝ้า ปวดตามร่างกาย โรคผิวหนัง โรคปวดกระดูกให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นทางวัดจึงได้จัดสร้างบ่อน้ำขึ้นมา 1 บ่อ เพื่อให้ประชาชนลงไปแช่น้ำ อาบน้ำ ปรากฏว่ามีชาวบ้านมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก จนบ่อน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน จึงได้จัดสร้างบ่อน้ำขึ้นอีกเป็นจำนวน 57 บ่อ มีทั้งบ่อยืนและบ่อนอน สำหรับไว้บริการให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง บ่อน้ำร้อนนี้ใช้กับคนทั่วไป ซึ่งบ่อน้ำร้อนนี้จะเปิดบริการตั้งแต่ เวลา 05.00 – 21.00 น. ของทุกวัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และมีบ่อพิเศษสำหรับพระภิกษุ-สามเณรได้แช่น้ำร้อนอยู่ด้านหลังวัดด้วย
ผู้สนับสนุนการเก็บข้อมูล
– คุณวรวิทย์ แซ่ตั้ง
– คุณพงศกร ธงทอง